คุณสามารถเข้าใช้งานแอปฯ ที่คุณใช้บ่อยที่สุดได้อย่างสะดวกสบายที่ Dock

 

การใช้ Dock

Dock คือแถบของไอคอนที่อยู่บริเวณด้านล่างหรือด้านข้างของหน้าจอของคุณ ซึ่งทำให้สามารถเข้าใช้งานแอปฯ จำนวนมากที่มาพร้อมกับ Mac ของคุณได้อย่างง่ายดาย (อย่างเช่น Mail, Safari และข้อความ) คุณสามารถเพิ่มแอปฯ ของตนเอง เอกสารและโฟลเดอร์ต่างๆ ไปยัง Dock ได้เช่นกัน

ภาพ Dock

หากต้องการเลือกรายการใน Dock ให้คลิกที่ไอคอนของรายการนั้น หากคุณต้องการฟังเพลง ให้คลิกที่ไอคอน iTunes (ไอคอนที่มีโน้ตดนตรี) เพื่อเปิด iTunes หากต้องการดูอีเมล ให้คลิกไอคอน Mail (ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายสแตมป์)

เมื่อแอปพลิเคชันเปิดขึ้น Dock จะแสดงขีดสว่างใต้ไอคอนของแอปพลิเคชันนั้น หากต้องการเปิดใช้งานแอปพลิเคชันใดที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น ให้คลิกที่ไอคอนของแอปฯ นั้นใน Dock 

การจัดระเบียบ Dock

Dock จะเก็บแอปฯ ไว้ทางด้านซ้าย ส่วนโฟลเดอร์ เอกสารและหน้าต่างที่ย่ออยู่จะถูกเก็บไว้ทางด้านขวาของ Dock หากคุณดูให้ดี คุณจะเห็นเส้นแยกแนวตั้งที่แยกสองส่วนนี้ออกจากกัน

ไอคอนถังขยะใน Dock

หากคุณต้องการจัดเรียงลักษณะการปรากฏของไอคอนบน Dock เพียงลากไอคอนนั้นไปยังตำแหน่งอื่นใน Dock ถังขยะ และ Finder คือรายการพิเศษ จึงแสดงที่ปลายแต่ละด้านของ Dock เสมอ

การเพิ่มและการลบรายการ Dock

หากคุณต้องการเพิ่มแอปพลิเคชันไปยัง Dock ให้คลิกไอคอน Launchpad ใน Dock จากนั้นลากไอคอนแอปฯ จาก Launchpad ไปยัง Dock ไอคอนต่างๆ ใน Dock จะย้ายไปอยู่ด้านข้างเพื่อเพิ่มที่ว่างให้กับรายการใหม่ หากคุณต้องการเพิ่มไฟล์หรือโฟลเดอร์ใน Dock เพียงลากไอคอนของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นจากหน้าต่าง Finder (หรือเดสก์ท็อป) แล้วปล่อยลงใน Dock

หากต้องการลบรายการใดจาก Dock ให้ลากไอคอนนั้นออกจาก Dock ประมาณหนึ่งนิ้วขึ้นไปและรอสองสามวินาที แล้วปล่อยไอคอน ไอคอนจะหายไปในหมอกควัน 

การลากไอคอนออกจาก Dock

การลบรายการจาก Dock ไม่ได้เป็นการลบออกจากคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างถาวร หากคุณต้องการให้รายการนั้นกลับเข้ามาใน Dock อีก ให้หาแอปฯ ไฟล์ หรือโฟลเดอร์นั้นใน Finder หรือ Launchpad แล้วแค่ลากกลับเข้าไปใน Dock เท่านั้น

เรียนรู้เพิ่มเติม

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Dock ให้คลิกที่หัวข้อด้านล่างนี้ คุณสามารถค้นหาคำว่า "Dock" ได้จาก เมนูวิธีใช้ ที่ด้านบนของหน้าจอได้อีกด้วย 

การย่อหน้าต่าง

หากคุณย่อหน้าต่าง (คลิกปุ่มกลมสีเหลืองที่มุมซ้ายบนของหน้าต่างใดก็ได้) หน้าต่างจะถูกดึงลงมาใน Dock ซึ่งจะถูกเก็บไว้ที่นั่นจนกว่าคุณจะคลิกไอคอนของหน้าต่างนั้นเพื่อเรียกกลับขึ้นมาอีกครั้ง

 

สแต็ค

คุณสามารถเลือกวิธีการแสดงโฟลเดอร์ต่างๆ ใน Dock ได้อีกด้วย คุณสามารถดูให้เป็นไอคอนโฟลเดอร์หรือให้เป็นสแต็คก็ได้

สแต็คของ Dock

สแต็คจะแสดงเนื้อหาของโฟลเดอร์ให้เป็นพัดหรือตาราง เมื่อคุณคลิกสแต็คใน Dock เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสแต็คได้ที่นี่

 

ถังขยะ

Dock จะมี ถังขยะ (ไอคอนคล้ายกับตระกร้าถังขยะ) ลากเอกสารใดก็ได้ที่คุณไม่ต้องการอีกต่อไป ไปที่ ถังขยะ เพื่อกำจัดเอกสารนั้น 

เมื่อคุณย้ายรายการไปที่ ถังขยะ คุณจะยังไม่ได้ลบรายการนั้นไปโดยสิ้นเชิง คุณยังสามารถคลิกที่ไอคอนถังขยะใน Dock เพื่อดูว่ามีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง เมื่อคุณพร้อมจะลบไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่คุณลากเข้าไปในถังขยะเป็นการถาวร ให้คลิกไอคอนถังขยะใน Dock ค้างไว้แล้วเลือก ล้างถังขยะ

ไอคอนถังขยะใน Dock

หากคุณลากดิสก์หรือโวลุ่มที่เชื่อมต่ออื่นๆ ไปที่ถังขยะ ดิสก์หรือโวลุ่มนั้นจะเปลี่ยนเป็นไอคอนดีดออกเพื่อให้คุณทราบว่าการกระทำนี้จะดีดออกหรือย้ายรายการนั้นออกแทนที่จะลบข้อมูลหรือลบรายการนั้น 

ไอคอนดีดออกใน Dock

 

หากคุณไม่เห็น Dock

คุณสามารถตั้งค่าไม่ให้เห็น Dock จนกว่าจะต้องการได้อีกด้วย หากคุณไม่เห็น Dock ลองย้ายตัวชี้ไปที่ด้านล่างหรือด้านข้างของหน้าจอเพื่อดูว่ามี Dock ปรากฏขึ้นหรือไม่ หากต้องการเปิดหรือปิด Dock ที่ซ่อนอยู่ > เปิด Dock ที่ซ่อนอยู่ หรือ ปิด Dock ที่ซ่อนอยู่ จากเมนู Apple ()

เดสก์ท็อปคือพื้นที่ว่างที่คุณสามารถเห็นไฟล์ โฟลเดอร์และหน้าต่างแอปพลิเคชัน เรียนรู้เกี่ยวกับเดสก์ท็อปของคุณและวิธีการกำหนดเดสก์ท็อปตามต้องการ

 

องค์ประกอบของเดสก์ท็อป

  1. เมนู Apple () - เข้าถึงการอัพเดทซอฟต์แวร์ การตั้งค่าระบบ พักเครื่อง ปิดเครื่องและอื่นๆ
  2. เมนูแอปพลิเคชัน - ประกอบด้วยเมนูต่างๆ สำหรับแอปพลิเคชันที่คุณกำลังใช้อยู่ในขณะนี้ ชื่อของแอปพลิเคชันจะปรากฏเป็นตัวหนาถัดจากเมนู Apple
  3. แถบเมนู - ประกอบด้วยเมนู Apple เมนูแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่ เมนูสถานะ ส่วนขยายแถบเมนู ไอคอน Spotlight และไอคอนศูนย์การแจ้ง (OS X Mountain Lion)
  4. เมนูสถานะ - แสดงวันที่และเวลา สถานะคอมพิวเตอร์ของคุณหรือให้คุณเข้าถึงคุณสมบัติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปิด Wi-Fi ได้อย่างรวดเร็ว ปิดบลูทูธ หรือปิดเสียงคอมพิวเตอร์ของคุณ
  5. ไอคอน Spotlight - คลิกที่ไอคอนเพื่อเรียกช่องค้นหา Spotlight ที่คุณจะสามารถค้นหาอะไรก็ได้บน Mac ของคุณ
  6. ไอคอนศูนย์การแจ้ง - คลิกที่ไอคอนเพื่อดูศูนย์การแจ้ง ซึ่งจะรวบรวมการแจ้งต่างๆ ของคุณจากแอปข้อความ ปฏิทิน เมล เตือนความจำและแอปของบริษัทอื่น
  7. เดสก์ท็อป - คือที่ที่หน้าต่างแอปพลิเคชันของคุณจะปรากฏขึ้น คุณสามารถเพิ่มเดสก์ท็อปโดยใช้ Mission Control ได้ ถ้าคุณใช้ Mac OS X v10.6 หรือเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า คุณสามารถใช้ Spaces ได้
  8. Dock - เข้าถึงแอปพลิเคชัน โฟลเดอร์และไฟล์ต่างๆ ของคุณที่ใช้บ่อยที่สุดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียวเพื่อเปิดแอปพลิเคชัน โฟลเดอร์หรือไฟล์

 

จัดระเบียบไฟล์และโฟลเดอร์บนเดสก์ท็อปของคุณ

ถ้าคุณดาวน์โหลดและสร้างไฟล์ไว้บนเดสก์ท็อปของคุณ มันอาจดูรกรุงรังได้หลังจากเวลาผ่านไป คุณสามารถจัดระเบียบไฟล์เดสก์ท็อปไฟล์ต่างๆ ด้วยการจัดกลุ่มเข้าไปในโฟลเดอร์บนเดสก์ท็อปของคุณ เพียงเลือกรายการที่คุณต้องการจัดกลุ่ม Control-คลิกหนึ่งรายการที่เลือกไว้ แล้วเลือก "โฟลเดอร์ใหม่พร้อมรายการที่เลือก" จากเมนูทางลัด จากนั้นใส่ชื่อให้กับโฟลเดอร์นั้น ไฟล์ที่เลือกไว้ทั้งหมดจะถูกจัดกลุ่มไว้ในโฟลเดอร์ใหม่นั้น

กำหนดเดสก์ท็อปของคุณตามที่ต้องการ

แสดงหน้าต่างตัวเลือกมุมมอง

คุณสามารถเปลี่ยนขนาดของไอคอน จัดเรียงให้อยู่ในตารางและตั้งค่าอื่นๆ สำหรับรายการบนเดสก์ท็อปของคุณได้ด้วยการเปลี่ยนตัวเลือกมุมมองบนเดสก์ท็อปของคุณ เพื่อเปลี่ยนตัวเลือกมุมมองเดสก์ท็อปของคุณ ให้คลิกเดสก์ท็อป แล้วเลือก มุมมอง > แสดงตัวเลือกมุมมอง จากแถบเมนู คุณสามารถลองการตั้งค่าอื่นๆ เพื่อดูว่าคุณชอบแบบไหน คุณจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของคุณได้ทันที

เปลี่ยนพื้นหลังของคุณ

คุณสามารถเปลี่ยนภาพที่แสดงไว้บนเดสก์ท็อปของ Mac คุณสามารถเลือกหนึ่งในภาพเดสก์ท็อปที่มาพร้อมเครื่อง Mac ของคุณ สีล้วนหรือหนึ่งในภาพของคุณเอง

การตั้งค่าเดสก์ท็อปในการตั้งค่าระบบ

  1. คลิกไอคอน Launchpad ใน Dock แล้วจากนั้นให้คลิกการตั้งค่าระบบ ถ้าคุณใช้ Mac OS X v10.6 หรือใหม่กว่า ให้คลิกไอคอนการตั้งค่าระบบใน Dock
  2. คลิกการตั้งค่าเดสก์ท็อปและโปรแกรมรักษาหน้าจอ แล้วคลิกเดสก์ท็อป
  3. เพื่อเลือกประเภทของภาพเดสก์ท็อปที่คุณต้องการใช้ ให้ทำหนึ่งในข้อต่อไปนี้:
    • เพื่อใช้ภาพที่มาพร้อมเครื่อง Mac ของคุณ เลือกโฟลเดอร์ที่อยู่ใต้ส่วน Apple
    • เพื่อใช้สีล้วน เลือก "สีล้วน" ที่อยู่ใต้ส่วน Apple
    • เพื่อใช้ภาพของคุณเอง เลือกโฟลเดอร์ ภาพ ใต้ "โฟลเดอร์" ถ้าภาพที่คุณต้องการจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ภาพของคุณ ถ้าภาพของคุณอยู่ในอีกโฟลเดอร์หนึ่ง คลิกปุ่มเพิ่ม (+) จากนั้นหาและเลือกโฟลเดอร์ที่มีภาพของคุณอยู่ จากนั้น คลิก เลือก
  4. เลือกภาพที่คุณต้องการในกล่องด้านขวา

ตัดสินใจว่าจะให้แสดงอะไรไว้บนเดสก์ท็อปของคุณ

คุณใช้การตั้งค่า Finder เพื่อเลือกประเภทรายการที่ปรากฏบนเดสก์ท็อป

การตั้งค่า Finder

  1. คลิกเดสก์ท็อป
  2. เลือก Finder > การตั้งค่า จากนั้นคลิก ทั่วไป
  3. ในส่วน "แสดงรายการเหล่านี้บนเดสก์ท็อป" เลือกรายการที่คุณต้องการให้ปรากฏบนเดสก์ท็อปของคุณ อย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์และดิสก์ภายนอก

เรียนรู้สิ่งที่ควรทำก่อนที่คุณจะขายหรือให้¬iPhone iPad หรือ iPod touch แก่ผู้อื่น

 

หากคุณยังมีอุปกรณ์ iOS ของคุณอยู่

ก่อนที่คุณจะขายหรือให้อุปกรณ์ iOS ของคุณแก่ผู้อื่น ต้องให้แน่ใจว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนตัวของคุณทั้งหมดแล้ว โปรดทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อปกป้องข้อมูลของคุณและตั้งค่าอุปกรณ์ให้เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานสำหรับเจ้าของใหม่

  1. สำรองข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณ
  2. ลงชื่อออกจาก iCloud โดย
    1. แตะที่ การตั้งค่า > iCloud เลื่อนลง และแตะ ลงชื่อออก ใน iOS 7 หรือเวอร์ชั่นก่อนหน้า แตะ ลบบัญชี
    2. แตะ ลงชื่อออก อีกครั้ง แตะ ลบจาก iPhone ของฉัน จากนั้นป้อนรหัสผ่านของคุณ 
  3. ไปที่ การตั้งค่า > ทั่วไป > รีเซ็ต แล้วแตะ ลบเนื้อหาและการตั้งค่าทั้งหมด
    • ซึ่งจะลบข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณทั้งหมด รวมถึงบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่คุณเพิ่มสำหรับ Apple Pay และรูปภาพ รายชื่อ เพลง หรือแอปต่างๆ และจะปิด iCloud, iMessage, FaceTime, Game Center และบริการอื่นๆ ด้วย
    • หากคุณใช้ iOS 7 หรือใหม่กว่า และเปิด ค้นหา iPhone ของฉัน ไว้ คุณต้องใช้ Apple ID และรหัสผ่านของคุณ หลังจากป้อนรหัสผ่านของคุณแล้ว อุปกรณ์จะถูกลบข้อมูลและลบออกจากบัญชีของคุณเพื่อให้เจ้าของรายต่อไปสามารถเปิดใช้งานเครื่องได้
    • เนื้อหาของคุณจะไม่ถูกลบจาก iCloud เมื่อคุณลบข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณ
  4. ติดต่อผู้ให้บริการของคุณสำหรับคำแนะนำในเรื่องบริการถ่ายโอนข้อมูลไปยังเจ้าของรายใหม่ หากคุณไม่ได้ใช้ซิมการ์ดกับอุปกรณ์ของคุณ คุณสามารถติดต่อผู้ให้บริการให้ช่วยถ่ายโอนบริการไปยังเจ้าของรายใหม่ได้

เมื่อเจ้าของใหม่เปิดอุปกรณ์เป็นครั้งแรก ผู้ช่วยตั้งค่าจะแนะนำเจ้าของใหม่ให้ทำตามขั้นตอนการตั้งค่าทั้งหมด

สิ่งสำคัญ: อย่าลบรายชื่อ ปฏิทิน เตือนความจำ เอกสาร การสตรีมรูปภาพ หรือข้อมูล iCloud อื่นๆ ด้วยตนเองเมื่อลงชื่อเข้าบัญชี iCloud ของคุณ มิฉะนั้นเนื้อหานั้นจะถูกลบออกจากเซิร์ฟเวอร์ iCloud และอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณที่ลงชื่อเข้าใน iCloud ด้วย

หากคุณไม่มีอุปกรณ์ iOS ของคุณอยู่อีกแล้ว

หากคุณไม่ได้ทำตามขั้นตอนด้านบนนี้ก่อนจะขายหรือให้อุปกรณ์ iOS แก่ผู้อื่น ให้ดำเนินการดังนี้

  1. ขอให้เจ้าของรายใหม่ลบเนื้อหาและการตั้งค่าทั้งหมดตามที่อธิบายไว้ข้างต้น
  2. หากคุณใช้ iCloud และค้นหา iPhone ของฉันบนอุปกรณ์นั้น คุณสามารถลบข้อมูลในอุปกรณ์ได้จากระยะไกลและลบอุปกรณ์จากบัญชีของคุณได้ด้วยการลงชื่อเข้าที่ icloud.com/find การเลือกอุปกรณ์ และคลิก ลบ เมื่ออุปกรณ์ถูกลบแล้ว คลิก ลบออกจากบัญชี หลังจากคุณลบข้อมูลอุปกรณ์แล้ว คุณจะต้องรอ 24 ชั่วโมงก่อนจึงจะสามารถเปิดใช้งาน iMessage บนอุปกรณ์เครื่องใหม่ได้ 
  3. หากคุณไม่สามารถทำขั้นตอนต่างๆ ด้านบนได้ทั้งหมด คุณควร เปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID ของคุณ การเปลี่ยนรหัสผ่านจะไม่ลบข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ที่ถูกแคชไว้บนอุปกรณ์ แต่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเจ้าของรายใหม่จะไม่สามารถลบข้อมูลของคุณออกจาก iCloud ได้
  4. Deregister iMessage หากคุณกำลังเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์ที่ไม่ใช่ของ Apple 

หากคุณใช้ Apple Pay คุณสามารถลบบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของคุณได้ที่ iCloud.com เช่นกัน เพียงเลือก การตั้งค่า เพื่อดูว่าอุปกรณ์ใดที่ใช้ Apple Pay อยู่ จากนั้นคลิกอุปกรณ์ของคุณและคลิก ลบ ถัดจาก Apple Pay

หากค้นหา iPhone ของฉันไม่ได้เปิดใช้งานอยู่บน อุปกรณ์ที่สูญหาย

หากคุณไม่ได้เปิดค้นหา iPhone ของฉันก่อนที่อุปกรณ์จะสูญหายหรือถูกขโมย คุณจะไม่สามารถใช้งานแอปฯ นี้เพื่อหาที่ตั้งอุปกรณ์ของคุณได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อช่วยป้องกันข้อมูลของคุณได้:

  1. เปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID ของคุณ ด้วยการเปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID คุณสามารถป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าใช้งานข้อมูล iCloud ของคุณหรือใช้บริการอื่นๆ (อย่างเช่น iMessage หรือ iTunes) จากอุปกรณ์ที่หายไปของคุณได้
  2. เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีอินเทอร์เน็ตอื่นๆ บนอุปกรณ์ของคุณ การทำเช่นนี้อาจรวมถึงบัญชีอีเมล Facebook หรือ Twitter
  3. แจ้งความเครื่องหายหรือถูกขโมยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจขอหมายเลขประจำเครื่องอุปกรณ์ของคุณ หาหมายเลขประจำเครื่องของคุณ:
    • บนกล่องดั้งเดิมของอุปกรณ์หรือใบเสร็จรับเงิน
    • บนโปรไฟล์การสนับสนุนของฉัน (supportprofile.apple.com) หากคุณลงทะเบียนอุปกรณ์ของคุณด้วย Apple ID
  4. รายงานอุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมยต่อผู้ให้บริการสัญญาณไร้สายของคุณ ผู้ให้บริการของคุณสามารถปิดใช้งานบัญชี ป้องกันการโทร การส่งข้อความและข้อมูล

ค้นหา iPhone ของฉันคือวิธีเดียวที่คุณสามารถติดตามหรือหาที่ตั้งอุปกรณ์ที่หายไปหรือหาไม่พบได้ หากค้นหา iPhone ของฉันไม่ได้เปิดใช้งานอยู่บนอุปกรณ์ของคุณก่อนที่เครื่องจะสูญหาย จะไม่มีบริการอื่นใดของ Apple ที่สามารถค้นหา ติดตามหรือแจ้งสถานะอุปกรณ์ให้กับคุณได้

เรียนรู้วิธีอัปเดตซอฟต์แวร์บน Apple TV (รุ่นที่ 2 และ 3) ของคุณ ควรมีซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดบน Apple TV เสมอ

 

อัปเดตซอฟต์แวร์ของคุณ

  1. เลือก การตั้งค่า > ทั่วไป > อัปเดตซอฟต์แวร์ Apple TV จะตรวจหาการอัปเดตที่มีให้ โดยจะปรากฏข้อความการดาวน์โหลด 
  2. คลิก ดาวน์โหลดและติดตั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการดาวน์โหลด
    อย่ายกเลิกการเชื่อมต่อ Apple TV ของคุณระหว่างกระบวนการอัปเดต ไฟสถานะของ Apple TV อาจกะพริบช้าๆ ระหว่างกระบวนการอัปเดตและรีสตาร์ท ซึ่งเป็นอาการปกติ

การสะท้อน AirPlay ช่วยให้คุณส่งสิ่งที่อยู่บนหน้าจอ Mac ไปยัง HDTV แบบไร้สายด้วย Apple TV

 

ข้อกำหนดสำหรับการสะท้อน AirPlay ใน OS X

Apple TV

  • Apple TV (รุ่นที่ 2 หรือใหม่กว่า) ที่มี การอัพเดทซอฟต์แวร์ v5.0 หรือใหม่กว่า
  • AirPlay ที่เปิดอยู่ ในเมนู การตั้งค่า ของ Apple TV 

Mac ที่รองรับ

การสะท้อน AirPlay ใน OS X จะใช้ประโยชน์ของฮาร์ดแวร์ที่เข้ากันได้ของ Mac รุ่นล่าสุดต่างๆ เพื่อนำส่งอัตราความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหวที่สูงในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุดของระบบ Mac รุ่นต่างๆ ต่อไปนี้รองรับการสะท้อน AirPlay เมื่อใช้ OS X Mountain Lion หรือใหม่กว่า:

  • iMac (กลางปี 2011 หรือใหม่กว่า)
  • Mac mini (กลางปี 2011 หรือใหม่กว่า)
  • MacBook Air (กลางปี 2011 หรือใหม่กว่า)
  • MacBook Pro (ต้นปี 2011 หรือใหม่กว่า)
  • Mac Pro (ปลายปี 2013 หรือใหม่กว่า)

ฉันมี Mac รุ่นใด

  • วิธีระบุ MacBook Air ของคุณ
  • วิธีระบุรุ่น MacBook Pro
  • วิธีระบุรุ่น iMac
  • วิธีระบุรุ่น Mac mini

เครือข่าย

การสะท้อน AirPlay ต้องใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi (802.11 a/g/n) หรือการเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตไปยังเครือข่ายภายในเดียวกันกับที่ Apple TV ของคุณใช้

การเปิดและปิดการสะท้อน AirPlay

หาก Mac ของคุณรองรับการใช้ Apple TV ให้เป็นจอแสดงผล เมนู AirPlay จะปรากฏในแถบเมนูเมื่อ Apple TV อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน ไอคอนเมนูการสะท้อน AirPlay จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อการสะท้อน AirPlay เปิด (ปุ่ม Airplay)

เมนู Airplay 

คุณสามารถเปิด Airplay ใน การตั้งค่าระบบ > จอแสดงผล ได้เช่นกัน:

  • ใน Mavericks เลือก จอแสดงผล AirPlay

    การตั้งค่า Mavericks
     
  • ใน Mountain Lion เลือกการสะท้อน AirPlay 

    การตั้งค่า Mountain Lion

หมายเหตุ: หากคุณไม่เห็นตัวเลือก จอแสดงผล AirPlay หรือ การสะท้อน AirPlay ในบานหน้าต่าง จอแสดงผล ของ การตั้งค่าระบบ แสดงว่ารุ่น Mac ของคุณไม่รองรับคุณลักษณะนี้

หากต้องการปิด AirPlay ให้เลือก "ปิด AirPlay" ในเมนู AirPlay หรือจากบานหน้าต่าง จอแสดงผล ของ การตั้งค่าระบบ คุณสามารถกดปุ่ม เมนู บนรีโมท Apple TV เพื่อปิดเซสชั่น AirPlay ปัจจุบันได้เช่นกัน 

การปรับคุณภาพของภาพให้เหมาะสม

โหมดการปรับความละเอียด

คุณสามารถเลือกโหมดการปรับความละเอียดได้สองโหมด ซึ่งให้คุณเลือกจอแสดงผลที่ให้ภาพดีที่สุด เมื่อเปิดการสะท้อน AirPlay เลือกตัวเลือกที่อยู่ใต้ "ปรับขนาดเดสก์ท็อปเป็น:" ในเมนูพิเศษของการสะท้อน AirPlay

การเลือกจอแสดงผลจากเมนู

  • ปรับขนาดเดสก์ท็อปเป็น: Apple TV
    การสะท้อน AirPlay จะเปลี่ยนความละเอียดของเดสก์ท็อปให้ตรงกับ Apple TV มากที่สุด ทำให้ภาพในอัตราส่วน 16:9 แสดงเต็มหน้าหน้าจอ HDTV การตั้งค่าแบบนี้จะให้ภาพที่คมชัดที่สุดบน HDTV อัตราส่วนภาพ และ/หรือ ความละเอียดของจอแสดงผลในตัวของ Mac อาจเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับ Apple TV
  • ปรับขนาดเดสก์ท็อปเป็น: Mac เครื่องนี้
    การสะท้อน AirPlay จะขยายเนื้อหาของเดสก์ท็อปให้พอดีกับ Apple TV โดยไม่เปลี่ยนความละเอียดของจอ Mac ของคุณ ใช้การตั้งค่านี้เพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุดบนจอ Mac ของคุณ ภาพที่แสดงอาจไม่เต็มหน้าจอ HDTV ขึ้นอยู่กับรุ่น Mac ของคุณ

 

การแก้ไขปัญหาการสะท้อน AirPlay

หากคุณไม่เห็นตัวเลือกการสะท้อน

หาก Mac และ Apple TV ของคุณอยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่เมนูการสะท้อน AirPlay ไม่ปรากฏขึ้นApple TV ของคุณอาจอยู่ในโหมดพักเครื่อง ซึ่งสามารถปลุกได้โดยกดปุ่มบนรีโมท Apple TV ของคุณ หลังจากนั้นสองสามวินาที เมนูพิเศษของการสะท้อน AirPlay จะปรากฏขึ้น หากคุณยังไม่เห็นตัวเลือกตามที่คาดไว้ ให้ตรวจสอบว่า Apple TV ติดตั้ง การอัพเดทซอฟต์แวร์ ล่าสุดแล้ว และตรวจสอบว่าคุณได้เลือกตัวเลือก "แสดงตัวเลือกการสะท้อนในแถบเมนูเมื่อพร้อมใช้งาน" ในบานหน้าต่าง จอแสดงผล ของ การตั้งค่าระบบแล้ว

ตัวเลือกการสะท้อนใน Mavericks
 

หากแถบเมนูหรือ Dock ถูกครอบตัด

HDTV บางรุ่นมีกรอบที่กินเนื้อที่หน้าจอเล็กน้อย ทำให้มีการครอบตัดภาพของ HDTV ที่แสดงรายละเอียดสูงสุดไปเล็กน้อย การสะท้อน AirPlay อาจทำการปรับขนาดของภาพโดยอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เกิดการครอบตัด แล้วแต่รุ่นของ HDTV  หากคุณใช้ OS X Mountain Lion หรือใหม่กว่า และคุณเห็นการครอบตัดแถบเมนูหรือ Dock เมื่อใช้การสะท้อน AirPlay ให้สลับเปิดปิดตัวเลือกตัวแก้ไขโอเวอร์สแกนในการตั้งค่าจอแสดงผล

ตัวเลือกโอเวอร์สแกนในการตั้งค่าระบบจอแสดงผล

ลดการประมวลผลหลังแสดงภาพวิดีโอ

 

HDTV มักใช้การเสริมคุณภาพของรูปภาพ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการแสดงผลของแหล่งเนื้อหาภาพยนตร์และวิดีโอ ในบางกรณี การเสริมคุณภาพดังกล่าวอาจทำให้แสดงภาพวัตถุคมชัดเกินไป เมื่อแสดงบนเดสก์ท็อป Mac HDTV บางรุ่นมีการตั้งค่าในตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปิดใช้งานการเสริมคุณภาพสำหรับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ (โหมดคอมพิวเตอร์ การนำเสนอ หรือเกม) ไม่เช่นนั้น คุณอาจใช้การควบคุมความคมชัด การเสริมรายละเอียดและการลดสัญญาณรบกวน เพื่อปรับการแสดงผลของเดสก์ท็อป Mac ให้เหมาะสมที่สุดได้ โปรดอ่านคู่มือ HDTV ของคุณ สำหรับคำแนะนำในการตั้งค่าที่เหมาะสมในการใช้งานกับคอมพิวเตอร์

การตั้งค่าความปลอดภัยของไฟร์วอลล์

หากคุณใช้ไฟร์วอลล์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าตัวเลือกความปลอดภัยของไฟร์วอลล์ต่อไปนี้ให้อนุญาตการสะท้อน AirPlay ให้ทำงาน:

  1. เลือก การตั้งค่าระบบ จากเมนู Apple ()
  2. คลิก ความปลอดภัยและความเป็นส่วนต้ว แล้วคลิก ไฟร์วอลล์
  3. คลิกไอคอนล็อก เพื่อปลดล็อกในกรณีที่ล็อกไว้ จากนั้น พิมพ์ชื่อผู้ดูแลระบบและรหัสผ่าน
  4. คลิกตัวเลือกไฟร์วอลล์
  5. เลิกเลือก (เลิกทำเครื่องหมาย) กล่องกาเครื่องหมาย " กั้นการเชื่อมต่อเข้าทั้งหมด"
  6. เลือก (ทำเครื่องหมาย) กล่องกาเครื่องหมาย “อนุญาตซอฟต์แวร์ที่ได้รับการลงนามให้รับการเชื่อมต่อขาเข้าโดยอัตโนมัติ”

เมนูสถานะแบตเตอรี่

แหล่งข้อมูลหลักในการดูสถานะแบตเตอรี่คือเมนูสถานะแบตเตอรี่ เมนูสถานะแบตเตอรี่จะแสดงปริมาณกำลังไฟที่แบตเตอรี่ของคุณมีและแสดงว่ากำลังชาร์จอยู่หรือไม่ เมนูนี้จะอยู่ด้านขวาของแถบเมนู:

เมนูสถานะแบตเตอรี่จะมีการอัปเดตบ่อยครั้งและจะเปลี่ยนแปลงตามความสว่างของหน้าจอและปริมาณงานของระบบ คุณอาจเห็นเวลาที่เหลืออยู่ลดลงอย่างมาก เช่น หากอัปเดตขณะเปิดไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ หรือกำลังเริ่มต้นระบบแอปพลิเคชั่น จำเป็นต้องจำไว้ว่านี่เป็นการประมาณค่าตามสิ่งที่คอมพิวเตอร์ของคุณกำลังทำอยู่ ณ ช่วงเวลาที่อัปเดต

หากคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังเรียกใช้ Mac OS X Snow Leopard v10.6 หรือใหม่กว่า คุณสามารถกดปุ่ม Option ค้างไว้และคลิกเมนูสถานะแบตเตอรี่เพื่อแสดงสภาวะของแบตเตอรี่ของคุณ ตามภาพด้านล่างนี้:

สภาพแบตเตอรี่อาจช่วยให้คุณพิจารณาได้ว่าแบตเตอรี่ของคุณจำเป็นต้องรับบริการหรือไม่:

  • หากสภาพเป็น "ปกติ" แสดงว่าแบตเตอรี่ทำงานปกติ
  • หากสภาพแบตเตอรี่เป็น "ควรเปลี่ยนโดยเร็ว" แบตเตอรี่ยังคงทำงานได้อยู่ แต่อาจเริ่มลดความสามารถในการเก็บประจุไฟแล้ว
  • หากสภาพแบตเตอรี่เป็น "เปลี่ยนทันที" หรือ "ซ่อมแซมแบตเตอรี่" แสดงว่าแบตเตอรี่มีโอกาสต้องได้รับการซ่อมแซม

การรีเซ็ตตัวควบคุมการจัดการระบบ (SMC) บน Mac ของคุณ

ในบางสถานการณ์ คุณอาจต้องรีเซ็ตตัวควบคุมการจัดการระบบ (System Management Controller - SMC) ของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้วิธีระบุสภาวะเหล่านี้และการรีเซ็ต SMC บนเครื่อง Mac ที่ใช้ Intel

 
 

ก่อนที่จะรีเซ็ต SMC

คุณควรรีเซ็ต SMC เฉพาะเวลาหลังจากที่คุณได้พยายามแก้ไขปัญหาระดับมาตรฐานอื่นๆ ทั้งหมดแล้ว ให้ลองใช้แต่ละขั้นตอนต่อไปนี้ตามลำดับ ก่อน ที่คุณจะรีเซ็ต SMC ทดสอบปัญหาหลังจากเสร็จสิ้นการแก้ไขปัญหาแต่ละขั้นตอน เพื่อพิจารณาว่าปัญหายังคงมีอยู่หรือไม่

  1. กด Command-Option-Escape เพื่อบังคับการออกจากแอปพลิเคชั่นที่ไม่ตอบสนอง
  2. ตั้งค่า Mac ของคุณให้อยู่ในโหมดพักเครื่อง โดยการคลิกที่เมนู () Apple และเลือก พักเครื่อง ปลุกคอมพิวเตอร์หลังจากเข้าสู่โหมดพักเครื่อง
  3. รีสตาร์ท Mac ของคุณโดยการเลือก รีสตาร์ท จากเมนู Apple
  4. ปิดเครื่อง Mac ของคุณโดยการเลือก ปิดเครื่อง จากเมนู Apple
  5. ถ้าพบว่าเครื่อง Mac ของคุณไม่ตอบสนอง ให้บังคับปิดคอมพิวเตอร์ด้วยการกดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้ 10 วินาที โปรดทราบว่า งานที่ยังไม่ได้บันทึกในแอปพลิเคชั่นใดๆ ที่เปิดอยู่จะสูญหายไป

หากคุณกำลังใช้โน้ตบุ๊ค Mac และมีปัญหาเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานหรือแบตเตอรี่ ให้ทำดังนี้

  1. ถอดอะแดปเตอร์แปลงไฟออกจากเครื่อง Mac และเต้าเสียบที่ผนังสักครู่หนึ่ง
  2. ปิดเครื่อง Mac 
  3. ถอดแบตเตอรี่ออกและใส่กลับเข้าไปใหม่ (ถ้าถอดออกได้)
  4. รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ของคุณ

หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขหลังจากทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณอาจจำเป็นต้องรีเซ็ต SMC ดูไฟแสดงสถานะและขั้นตอนด้านล่าง 

ไฟแสดงสถานะ

หลังจากดำเนินการแก้ไขปัญหาตามปกติแล้ว อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าจำเป็นต้องรีเซ็ต SMC

พัดลม

  • พัดลมของคอมพิวเตอร์ทำงานที่ความเร็วสูง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่มีการใช้งานอย่างหนัก และมีการระบายอากาศที่ดีอยู่แล้ว

ไฟ

  • ไฟส่องหลังแป้นพิมพ์อาจทำงานผิดปกติ (บนคอมพิวเตอร์ Mac ที่มีคุณสมบัตินี้)
  • ไฟแสดงสถานะ (SIL) ดูเหมือนจะทำงานผิดปกติ (บนคอมพิวเตอร์ Mac ที่มี SIL)
  • หากไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่ทำงานผิดปกติ ถ้ามีไฟนี้ (ในคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้แบตเตอรี่ที่ไม่สามารถถอดได้)
  • ไฟส่องหลังจอแสดงผลไม่ตอบสนองอย่างถูกต้องต่อการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างโดยรอบบนคอมพิวเตอร์ Mac ที่มีคุณสมบัตินี้

กำลังไฟ

  • คอมพิวเตอร์ไม่ตอบสนองต่อการกดปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง
  • คอมพิวเตอร์ Mac แบบพกพาตอบสนองแบบผิดปกติเมื่อคุณปิดหรือเปิดฝา
  • คอมพิวเตอร์พักเครื่องหรือปิดเครื่องโดยไม่คาดคิด
  • แบตเตอรี่ชาร์จไฟผิดปกติ
  • ไฟ LED ของอะแดปเตอร์แปลงไฟ MagSafe แสดงการทำงานไม่ถูกต้อง

ประสิทธิภาพของระบบ

  • คอมพิวเตอร์ทำงานช้าผิดปกติแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน CPU ที่สูงมากเกินไป
  • ไอคอนแอปพลิเคชั่นอาจ "เด้ง" ใน Dock เป็นเวลานานเมื่อเปิดใช้งาน
  • แอปพลิเคชั่นอาจทำงานผิดปกติหรือหยุดตอบสนองหลังจากเปิดแอป

วิดีโอ

  • คอมพิวเตอร์ที่รองรับ โหมดการแสดงผลเป้าหมาย ไม่สลับเข้าหรือออกจากโหมดการแสดงผลเป้าหมายตามที่คาดไว้
  • คอมพิวเตอร์ที่รองรับ โหมดการแสดงผลเป้าหมาย สลับเข้าหรือออกจากโหมดการแสดงผลเป้าหมายในเวลาที่ไม่คาดคิด

การส่องสว่างของพอร์ต

  • การส่องสว่างรอบๆ พอร์ต I/O บน Mac Pro (ปลายปี 2013) ไม่ทำงานเมื่อคุณขยับคอมพิวเตอร์

วิธีรีเซ็ต SMC

ดูหัวข้อที่เหมาะสมด้านล่างสำหรับโน้ตบุ๊ค Mac หรือคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของคุณ

ในโน้ตบุ๊ค Mac ที่ใช้แบตเตอรี่แบบถอดไม่ได้

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค Mac ที่มีแบตเตอรี่ซึ่งคุณไม่ควรถอดออกได้แก่ MacBook Pro (ต้นปี 2009) และใหม่กว่า ทุกรุ่นของ MacBook Air, MacBook (ปลายปี 2009) และ MacBook (Retina 12 นิ้ว ต้นปี 2015)

วิธีรีเซ็ต SMC

  1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. เสียบ MagSafe หรืออะแดปเตอร์แปลงไฟ USB-C กับแหล่งจ่ายไฟและกับคอมพิวเตอร์ของคุณ
  3. บนแป้นพิมพ์ในเครื่อง ให้กดปุ่ม Shift-Control-Option (ด้านซ้าย) และปุ่มเปิด/ปิดพร้อมกัน
  4. ปล่อยปุ่มทั้งหมดและปุ่มเปิด/ปิดพร้อมกัน
  5. กดปุ่มเปิด/ปิดเพื่อเปิดคอมพิวเตอร์

ในอะแดปเตอร์แปลงไฟ MagSafe ไฟ LED อาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานะหรือปิดชั่วคราวเมื่อคุณรีเซ็ต SMC

บนโน้ตบุ๊ค Mac ที่มีแบตเตอรี่ที่ถอดออกได้

คอมพิวเตอร์ MacBook และ MacBook Pro รุ่นเก่าที่มีแบตเตอรี่ที่ถอดออกได้ เรียนรู้เกี่ยวกับการถอดแบตเตอรี่ใน  MacBook และ MacBook Pro

วิธีรีเซ็ต SMC

  1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ถอดอะแดปเตอร์แปลงไฟ MagSafe ออกจากคอมพิวเตอร์ ถ้าต่อไว้
  3. ถอดแบตเตอรี่
  4. กดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้ห้าวินาที
  5. ปล่อยปุ่มเปิด/ปิด
  6. ใส่แบตเตอรี่และอะแดปเตอร์แปลงไฟ MagSafe ใหม่อีกครั้ง
  7. กดปุ่มเปิด/ปิดเพื่อเปิดคอมพิวเตอร์

บน Mac Pro, iMac, Mac mini และ Xserve

เมื่อต้องการรีเซ็ต SMC บนคอมพิวเตอร์ Mac Pro, iMac และ Mac mini ที่ใช้ Intel รวมทั้ง Xserve ให้ทำดังนี้

  1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ถอดสายไฟ
  3. รอสิบห้าวินาที
  4. ต่อสายไฟ
  5. รอห้าวินาที จากนั้นกดปุ่มเปิด/ปิดเพื่อเปิดคอมพิวเตอร์

สำหรับคอมพิวเตอร์ Xserve ที่ใช้ Intel ซึ่งไม่ตอบสนอง คุณสามารถปิดระบบที่ตัวเครื่องหรือโดยใช้คำสั่งจากระยะไกล นอกจากนี้ คุณยังสามารถปิดเครื่องโดยกดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้ห้าวินาที

เรียนรู้เพิ่มเติม

SMC รับผิดชอบฟังก์ชั่นระดับต่ำจำนวนมากในเครื่อง Mac ที่ใช้ Intel ฟังก์ชั่นเหล่านี้รวมถึงข้อต่อไปนี้

  • การตอบสนองต่อการกดปุ่มเปิด/ปิด
  • การตอบสนองต่อการเปิดและปิดฝาจอแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ Mac แบบพกพา
  • การจัดการแบตเตอรี่
  • การจัดการความร้อน
  • SMS (เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวกะทันหัน)
  • การวัดแสงสว่างโดยรอบ
  • ไฟส่องหลังแป้นพิมพ์
  • การจัดการไฟแสดงสถานะ (SIL)
  • ไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่
  • การเลือกแหล่งที่มาของสัญญาณวิดีโอภายนอก (แทนที่จะเป็นภายใน) สำหรับจอแสดงผล iMac บางรุ่น

การรีเซ็ต SMC ไม่ได้เป็นการรีเซ็ตหรือเปลี่ยนเนื้อหาของ PRAM (หรือเรียกว่า NVRAM) บนเครื่อง Mac ที่ใช้ Intel

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบควบคุมใน Mac ของคุณที่ควบคุมอุณหภูมิภายในเครื่องและส่งจ่ายกระแสลมให้กับส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ด้วยการปรับความเร็วพัดลมตามการฟีดแบ็คจากเซ็นเซอร์ภายในคอมพิวเตอร์

 

เซ็นเซอร์ต่างๆ จะตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อตรวจพบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ในระหว่างกิจกรรมของหน่วยประมวลผลที่ใช้งานหนัก อย่างเช่น การประมวลผลวิดีโอ HD หรือการเล่นเกมที่มีการใช้งานหน่วยประมวลผลกราฟิกมากๆ พัดลมจะเพิ่มความเร็วเพื่อส่งจ่ายกระแสลมเพิ่มขึ้น

อุณหภูมิภายนอกมีบทบาทต่อการตอบสนองของพัดลม พัดลมจะเปิดเร็วขึ้นและหมุนเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิภายนอกคอมพิวเตอร์สูง

สถานที่ที่คุณใช้งานเครื่องอาจมีผลต่อการทำงานของพัดลมและความร้อนด้วยเช่นกัน การใช้คอมพิวเตอร์บนพื้นนุ่ม อย่างเช่น โซฟา หมอน เตียงหรือบนตัก อาจกักเก็บความร้อนทำให้พัดลมทำงานเพิ่มขึ้นได้ การใช้คอมพิวเตอร์บนพื้นเรียบแข็ง อย่างเช่น โต๊ะ หรือโต๊ะทำงาน จะทำให้กระจายความร้อนได้อย่างเหมาะสม

คอมพิวเตอร์ Mac มีช่องระบายอากาศที่ช่วยระบายความร้อน ช่องเหล่านี้จะอยู่ด้านหลังคอมพิวเตอร์บนคอมพิวเตอร์ MacBook, MacBook Air, MacBook Pro และ Mac Pro  iMac (กลางปี 2012 และเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า) จะมีช่องระบายอากาศอยู่ตามขอบด้านล่างของคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรปิดกั้นช่องระบายอากาศเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด

ในสภาพแวดล้อมที่เงียบ กระแสลมจากพัดลมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ได้ยินเสียงคล้ายลมเป่า  

โน้ตบุ๊ก Mac: อุณหภูมิการทำงาน

พื้นผิวด้านล่างและบางส่วนระหว่างแป้นพิมพ์และบานพับ LC ของโน้ตบุ๊ก Mac ของคุณอาจร้อนขึ้นหลังจากการใช้งานได้ในระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมการทำงานที่ปกติ

 

เพื่อเป็นการไขข้อข้องใจที่คุณอาจมีเกี่ยวกับอุณหภูมิการทำงาน ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการทำงานกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของคุณ:

  1. ตรวจสอบว่าคุณได้ใช้ซอฟต์แวร์ระบบล่าสุดและได้ติดตั้งการอัพเดตเฟิร์มแวร์ปัจจุบันทั้งหมดแล้ว เมื่อต้องการค้นหาซอฟต์แวร์ระบบล่าสุด ให้ใช้ การอัพเดทซอฟต์แวร์ หรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ระบบและการอัพเดทเฟิร์มแวร์จาก http://support.apple.com/th_TH/downloads/
  2. วางโน้ตบุ๊กของคุณบนพื้นผิวการทำงานที่มั่นคงเพื่อให้อากาศใต้และรอบๆ คอมพิวเตอร์ไหลเวียนสะดวก อย่าทำงานกับโน้ตบุ๊กของคุณบนหมอนหรือวัสดุนิ่มอื่นๆ เนื่องจากวัสดุนั้นอาจบล็อกไม่ให้อากาศไหลเวียนได้ อย่าวางสิ่งใดบนแป้นพิมพ์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ อย่าดันสิ่งใดๆ เข้าไปในช่องระบาย
  3. ด้านล่างของโน้ตบุ๊ก Mac ของคุณอาจร้อนขึ้นขณะใช้งานปกติ หากคุณวางโน้ตบุ๊กของคุณบนตักและรู้สึกร้อนมาก ให้วางบนพื้นผิวการทำงานที่มั่นคงเพื่อให้อากาศไหลเวียนสะดวก
  4. สถานที่ที่คุณใช้โน้ตบุ๊กของคุณควรอยู่ภายในช่วงต่อไปนี้:
    • อุณหภูมิการทำงาน: 50° ถึง 95° F (10° ถึง 35° C)
    • ความชื้นสัมพัทธ์: 0% ถึง 90% ไม่ควบแน่น
  5. ควรตรวจสอบว่า มีการเสียบปลั๊ก AC หรือสายไฟ AC ลงในอะแดปเตอร์ไฟฟ้าสนิทดีแล้ว ก่อนที่จะต่อไฟเข้าปลั๊กอะแดปเตอร์ ใช้อะแดปเตอร์ไฟฟ้าที่มาพร้อมกับโน้ตบุ๊ก Mac ของคุณหรืออะแดปเตอร์ไฟฟ้าที่รับรองโดย Apple ที่ใช้งานได้กับผลิตภัณฑ์นี้ อะแดปเตอร์ไฟฟ้าอาจร้อนมากขณะใช้งานตามปกติ ให้เสียบอะแดปเตอร์ไฟฟ้าโดยตรงในเต้าเสียบ และวางไว้บนพื้นในตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทสะดวก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู โน้ตบุ๊ก Mac: การใช้และการเก็บรักษาอะแดปเตอร์ Apple MagSafe
  6. แอปพลิเคชัน Runaway อาจทำให้โปรเซสเซอร์ทำงานหนัก และส่งผลต่อระดับความร้อนของคอมพิวเตอร์ของคุณได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู แอปพลิเคชัน Runaway อาจทำให้เวลาทำงานของแบตเตอรี่สั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความร้อนและการทำงานของพัดลม
  7. Spotlight จะทำดัชนีเนื้อหาของฮาร์ดไดรฟ์โดยอัตโนมัติ กิจกรรมนี้อาจเพิ่มการใช้งาน CPU มากขึ้นและคอมพิวเตอร์ของคุณอาจร้อนได้ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมใน การทำดัชนีของ Spotlight อาจทำให้พัดลมทำงาน 

หมายเหตุ: อย่าวางโน้ตบุ๊กหรืออะแดปเตอร์ไฟฟ้าบนเตียงหรือใต้ผ้าห่อมเนื่องจากอาจทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

พัดลมภายในของคอมพิวเตอร์จะเปิดโดยอัตโนมัติ ในช่วงอุณหภูมิที่เลือกไว้เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม

โน้ตบุ๊ก Mac มีขีดจำกัดอุณหภูมิตามมาตรฐานความปลอดภัยในประเทศและสากลเมื่อใช้ตามคำแนะนำในคู่มือผู้ใช้

ค้นหา

บทความที่เกี่ยวข้อง

Free Joomla templates by L.THEME