หลายท่านมีความสงสัยว่า MacBook Pro Retina ที่เราใช้งานอยู่ ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมานั้น  สามารถอัฟเกรดอะไรได้บ้าง  เพื่อให้เพิ่มความเร็วขึ้นได้บ้าง  เพราะเมื่อใช้งานมาหลายปีก็เริ่มจะรู้สึกว่า  เครื่องเริ่มช้า  เปิดเครื่องช้าบ้างอะไรบ้าง

ทางเรานำเสนอบทความนี้เพื่อ  ทำความเข้าใจกับทุกท่านว่า "MacBook Pro Retina" ไม่สามารถอัฟเกรดความเร็วได้เลย  เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างอยู่บนเมนบอร์ดแบบบิ้วอินท์มาหมดเลยจากโรงงาน  ดังนั้นเราจะไม่สามารถเพื่มความเร็วเครื่องให้กับ Mac ของเราได้เลย

เราสามารถทำได้เพียงแค่  "เพิ่มความจุของเครื่องได้เท่านั้น เปลี่ยน Flash Storage" ให้มีเนื้อที่เก็บข้อมูลภายในเครื่องมากขึ้น

 

                                                                                       

 

โดย Falsh Storage ที่จะใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มความจุนั้น จะต้องตรงรุ่นกับ Mac ที่เราใช้งานอยู่  ***ไม่สามารถซื้อ Flash M.2 มาจากที่ไหนก็ได้แล้วเปลี่ยนเข้าไปได้  เนื่องด้วยขั้วที่จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด MacBook Pro Retina, Air แต่ละรุ่น  จะไม่เหมือนกันนะครับผม

หากท่านใดมีความต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม  สามารถทัก Inbox สอบถามเจ้าหน้าที่ของเราทาง FanPage ได้เลยนะครับ http://m.me/ioverserve

รีวิว SSD

วันนี้จะมาพูดถึง SSD Transcend SSD230S แบบ SATA 2.5 นิ้ว ที่อยากนำแนะนำด้วยแบรนด์  Transcend ทำให้เรามั่นใจในคุณภาพสินค้า

 


Transcend ถือเป็นผู้ผลิตหน่วยความจำชื่อดังที่มีครบทุกรูปแบบ RAM ,Memory Card และ Solid State Drive หรือ SSD โดย SSD ที่ทีมงานนำมาทดสอบในวันนี้เป็นฮาร์ดดิสค์ที่ใช้ในโน้ตบุ๊คทั่วไปขนาด 2.5 นิ้ว เชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA III ในซีรีย์ SSD230S ซึ่งเป็นซีรีย์ที่เน้นความคุ้มค่าราคา โดยจะมีความจุตั้งแต่ 128 ,256 ,512, 1 และ 2 TB ให้ความเร็วในการอ่านเขียนที่ถือว่าสูงเลยทีเดียว ที่สำคัญคือราคา 512 และ 1 TB ตอนนี้ถูกมากๆ ถูกที่สุดตอนนี้เลยก็ว่าได้

 

ข้อมูลและรายละเอียด

รูปแบบการอ่านเขียนเป็นแบบ TLC NAND flash

การอ่านข้อมูล 560 MB/S  การเขียนข้อมูล 520 MB/S

และมั่นใจได้ด้วยการรับประกัน 5 ปี


Transcend SSD230S โดยจะมีความหนาอยู่ที่ 7 มิลลิเมตร วัสดุเป็นอลูมิเนียมสีเงิน 100% ช่วยระบายความร้อนน้ำหนักเบา โดยบนจะมีเห็นแบรนด์ ยี่ห้อ พร้อมโลโก้ใหญ่ประมาณนึงแต่ก็ดูสวยงามดี

 

จุดเด่นของ SSD จะอยู่ที่มีความเร็วในการอ่านเขียนที่สูงกว่า HDD ทั่วไปถึง 50-70% ทำให้หลายท่านหันมาใช้งาน SSD กันอย่างแพร่หลาย




เปรียบเทียบ Speed Test ระหว่าง HDD กับ SSD จากเครื่อง Macbook Pro 13” 2011

 

ทดสอบจาก HDD เครื่องก่อนเปลี่ยน SSD

 

ทดสอบจาก SSD หลังเปลี่ยน SSD

 

จะเห็นได้ว่า HDD อ่านเขียนได้น้อยกว่าถึง 80% จากเครื่องเดียวกันแค่เปลี่ยนเพียง SSD



จากข่าวที่มีมาหลายเดือน  หลังจากที่ Apple ได้ออก Keynote ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  ตัว MacBook Pro ไม่ได้มีการอัฟเดทใดๆ  ในงานที่ผ่านมาก็เปิดตัว iPhone 11, TV OS, แต่ไม่มีในส่วนของ computer ที่อัฟเดทใดๆ 

มาวันนี้ก็มีการอัฟเดทเจ้าตัว MacBook Pro 16-inch ออกมาแบบเงียบๆ ทำให้ใครหลายๆ คนได้ตกใจกัน  จากการปรับปรุงทางด้านการออกแบบก็เห็นจะเป็น หน้าจอทีมีขนาด 16-inch (เดินสายกลาง จาก 15-inch, 17-inch) และหน้าจอแบบจอภาพแบ็คไลท์แบบ LED ขนาด 16 นิ้ว (แนวทแยง) พร้อมเทคโนโลยี IPS
ความละเอียดปกติ 3072 x 1920 ที่ 226 พิกเซลต่อนิ้ว และรองรับสีสันนับล้านสี

และยังสามารถที่จะอัฟเกรดความจุของ Flash Storage สามารถปรับแต่งให้เป็นความจุ 2TB, 4TB หรือ 8TB ได้ ทำให้ผู้ใช้ที่ต้ัองการพื้นที่ความจุข้อมูลเยอะๆ ได้สบายใจกันได้เลย  (แต่ไม่สามารถอัฟเกรดได้ภายหลัง)

สำหรับการเปิดตัวนี้มาให้เลือกกัน 2 สเปคด้วยกันครับ ซึ่งราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 75,900 บาท และตัว Top ที่ยังไม่ทำการ config ใดๆ นั้นอยู่ที่ 89,900 บาท

ทั้งนี้ ยังคงทุกอย่างออนบอร์ด ไม่สามารถอัฟเกรดได้ภายหลังได้เลย ไม่ว่าจะเป็น Memory, Flash storage, Graphics ก็แนะนำว่า ท่านที่ต้องการจะซื้อรุ่นใหม่นี้ ให้ทำการอัฟเกรดมาจากโรงงานให้เรียบร้อยเลยนะครับผม

 

แต่ ณ ตอนนี้ ยังไม่สามารถกดสั่งซื้อผ่านหน้าเว็ปได้ คงต้องรอสั่งจองกันผ่านทางหน้าร้านกันก่อน

ใครที่กำลังจะซื้อ MacBook Pro 15-inch กรุณาติดตามราคาตาม Authorize ให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับผม เพราะราคาจะต้องลดลงจากราคาตั้งเดิมเป็นแน่..........

#MacBookPro16-inch #NewMacBookPro

อัฟเกรด SSD วันนี้  สำหรับ MacBook, MacBook Pro, iMac

Transcend   256GB       ราคา 2,900.-
Transcend   512GB       ราคา 3,900.-
Transcend   1TB            ราคา 6,900.-
Transcend   2TB             ราคา 12,900.-

ค่าบริการพร้อมติดตั้ง Mac OS X และซอฟแวร์ 890 บาท

***กรณีต้องสำรองข้อมูลอาจมีค่าบริการเพิ่มเติม
***กรณีที่เป็นเครือง iMac รุ่นจอบาง ต้องใช้เทปกาวหน้าจอ ราคา 590 บาท
***หากข้อมูลในเครื่องของคุณสำคัญ แนะนำให้สำรองข้อมูลก่อนนำส่งเข้ารับบริการ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้เลย.                   

 

                        

ถ้าใครใช้ iMac แล้วรู้สึกว่าช้าๆ หน่วงๆ เปิดโปรแกรมไม่ค่อยได้อย่างใจเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ เลย เรามาทำความเข้าใจกันก่อนครับ ว่า iMac แบ่งออกเป็นกี่ Model กี่แบบ แบบไหนทำอะไรได้และไม่ได้บ้าง

 

เราจะเริ่มเอารุ่นที่ยังมีใช้งานกันใจปัจจุบันนะครับ (ในตอนนี้ที่ลงบทความ เดือนมิถุนายน 2019) 

iMac หลังดำ, iMac 20-inch, iMac 24-inch Model ปี 2004-2008 จุดสังเกตุคือ ด้านหลังเป็นพลาสติกสีดำ เลยเรียกรุ่นหลังดำครับผม

 

iMac หลังเงิน, iMac 21.5-inch, iMac 27-inch, Model ปี 2009-2011 รุ่นนี้จะมีช่องใส่ DVD ด้านข้างนะครับ ด้านหลังจะเป็นอลูมิเนียมครับ

iMac slim, iMac 21.5-inch, iMac 27-inch, Model ปี 2012-2019 รุ่นนี้จุดสังเกตุ ด้านข้างไม่มีช่องใส่ DVD แล้ว จอบาง

 

หลังจากทราบรุ่นต่างๆ ของ iMac กันแล้ว ก็มาเริ่มทำความรู้จักกับภายในก่อนเลยครับนะครับ ว่า iMac ทุกรุ่นนั้น จะมีตัวเครื่องและสายไฟเท่านั้น เป็นเครื่อง All-in-one รุ่นแรกๆ ของโลกกันเลย เป็นต้นแบบของ All-in-one ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ดังนั้น การดีไซน์ก็ต้องเฉพาะทางกันนิดนึงครับ

ภายในเครื่องจะบรรจุเมนบอร์ด กราฟฟิคการ์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม เพาเวอร์ซัฟพลายไว้ภายในทั้งหมด และทุกๆ Model จะสามารถอัฟเกรดได้เพียง ฮาร์ดดิสก์กับแรม เท่านั้นครับ ส่วนเรื่องการอัฟเกรด กราฟฟิคการ์ด ซีพียู ก็น่าจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเท่าไร จึงไม่ค่อยมีใครนิยมทำกันซักเท่าไร  เนื่องด้วยตัวอุปกรณ์แต่ละตัวที่กล่าวมานั้น ราคาสูงมากและต้องเข้ากันได้กับ Model นั้นๆ ด้วย

ดังนั้น สิ่งที่สามารถอัฟเกรดได้ และเหมาะสมในการทำนั้นก็จะเป็นเรื่องของ ฮาร์ดดิสก์ กับ แรม (Hard Disk, Memory) ซึ่งจะทำให้เครื่องเร็วขึ้นอย่างมาก และคุ้มค่าต่อการปรับปรุงที่สุด

อย่างไรก็ตาม แต่ละรุ่นของ iMac ก็จะมีลักษณะในการถอดหน้าจอแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ข้อควรระวังในการอัฟเกรด iMac คือ ควรศึกษาข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนการตัดสินใจลงมือทำหรือส่งร้านอัฟเกรด ต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องการถอดประกอบ เพราะราคาค่าตัวของหน้าจอนั้้น ไม่ถูกเลยเช่นกันนะครับ ถ้าเป็นรุ่น 4K, 5K ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ ราคาครึ่งนึงของราคาเครื่องออกห้างฯ กันเลยครับ  ดังนั้น  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ สามารถสอบถามเรามาได้เลยนะครับผม

เมื่อเราต้องการที่จะทำการลง Mac OS X ใหม่ในเครื่อง Mac เครื่องเดิมนั้น หากต้องการข้อมูลเก่าเก็บไว้ สำหรับใช้งาน คุณสามารถที่จะทำการสำรองข้อมูลส่วนตัวของคุณก่อนที่จะทำการฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ได้ด้วยตัวท่านเองแบบง่ายๆ

เราจะแสดงให้ท่านได้ทราบถึงแหล่งข้อมูลที่ตัวท่านจำเป็นต้องสำรองไว้ก่อน เพื่อให้ไม่เกิดการผิดพลาดในการสำรองข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือสำรองข้อมูลผิดที่ ก็ทำให้ไฟล์งาน รูปภาพ เพลง และอื่นๆ ผิดพลาดไปด้วย

 

ขั้นต้อนการสำรองข้อมูลของคุณง่ายๆ ดังนี้

  • เตรียมฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External HDD) ที่มีขนาดความจุที่มากกว่าข้อมูลที่คุณใช้ไปในเครื่อง ตรวจสอบได้จาก คลิ๊กขวาที่ HDD icon ที่หน้าเดสก์ทอป หรือเมนู Apple - About this mac - Storage

  • จากนั้นกดปุ่มคีย์บอร์ด Cmd+Shift+C หรือ ที่ไปที่เมนูบาร์ด้านบน แล้วกดเมนู Go - Computer

  • จะพบลิ้งหน้าต่างใหม่ขึ้นมาเป็นตามภาพ ให้เลือกไปที่ Users-(Home Account) รูปบ้านตัวเองหรือชื่อเครื่องตัวเองที่ตั้งไว้ตามภาพด้านบน
  • จากนั้นก็ให้เริ่ม สำรองข้อมูลเริ่มจากโฟลเดอร์ Desktop, Document, Download, Movie, Music, Pictures ตามลำดับ

 

  • Desktop = ไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ที่อยู่หน้าจอทั้งหมด
  • Document = ไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ที่เก็บไว้ใน Document ทั้งหมด
  • Download = ไฟล์และโฟลเตอร์ต่างๆ ที่ท่านดาวน์โหลดมาจาก Internet, Mail Attached และที่ต่างๆ คุณจะเลือกสำรองหรือไม่ก็ได้ เพราะในโฟลเดอร์นี้ ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะสามารถดาวน์โหลดใหม่ได้อีกอยู่แล้ว และบางไฟล์ก็ไม่ได้ใช้งาน
  • Movie = ไฟล์วีดีโอที่อยู่ใน iMovie, Final Cut และไฟล์อื่นๆ ที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์นี้ทั้งหมด  หากท่านใช้งานโปรแกรม iMovie, Final Cut ตัดต่อวีดีโอเป็น Project ไว้อย่างไร เมื่อนำไฟล์นี้ไปวางในโฟลเดอร์เดิมที่ OS ใหม่ ก็จะได้ Project และการตั้งค่าต่างๆ มาเหมือนเดิม ไม่ต้องเริ่ง Project ใหม่
  • Music = ในโฟลเดอร์นี้จะเป็นที่เก็บ่ไฟล์เพลงและสื่อต่างๆ ที่คุณเพิ่มไว้ในโปรแกรม iTunes หากคุณต้องการที่จะเก็บไฟล์เพลง วีดีโอ แอปต่างๆ ก็ให้สำรองข้อมูลในโฟลเดอร์นี้ไว้ทั้งหมด
  • Pictures = ไฟล์รูปและวีดีโอต่างๆ ที่เก็บไว้ในโปรแกรม Photos หรือ iPhoto ในเวอร์ชั่นเก่า
  • Public = เป็นไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ที่ท่านใช้แชร์กับผู้อื่น รวมถึงไฟล์ที่ผู้อื่นส่งมาให้ท่านในโฟลเดอร์นี้ หากไม่ต้องการเก็บ ก็ไม่จำเป็นต้องสำรองข้อมูลในโฟลเดอร์นี้

ส่วนการตั้งค่าในโปรแกรมต่างๆ การเพิ่มอีเมลและไฟล์ต่างๆ ในอีเมล การเก็บบุ๊คมาร์ค การเก็บตารางนัดหมาย ปฏิทิน ไฟล์สำรองของ iPhone, iPad จะไม่ได้อยู่ใน Folder ข้างต้นที่นำเสนอมา

แต่จะต้องใช้วิธีการ export ออกมาจากแอฟนั้นๆ และสามารถ

ดูวิธีการสำรอง e-mail 

ดูวิธีการสำรอง iPhone, iPad back up

ดูวิธีการสำรอง Calendar

ดูวิธีการสำรอง Font

ดูวิธีการสำรอง AddressBook

 

เพียงเท่านี้ ทุกท่านก็จะสามารถสำรองข้อมูลในเครื่อง Mac ของท่านได้อย่างสมบูรณ์แล้วครับ ก่อนที่ท่านจะทำการอัฟเดท Mac OS X หรือการฟอร์แมทล้างลงใหม่ เพื่อเป็นการป้องกันการผิดพลาดจากการอัฟเดทไม่สมบูรณ์และไฟล์งานหายเพียงเพราะไม่ได้สำรองข้อมูลไว้ก่อนการฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ครับ

#สำรองข้อมูล #backupdata #ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์

ท่านสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับ MacBook Air, MacBook Pro ได้ด้วยตัวเองได้ เพียงแค่ต้องมีไขควงสี่แฉกเล็ก และสามแฉกแบบที่ใช้ไขของเล่น หรือสั่งสินค้าที่เรา www.siammacparts.com ก็จะมีไขควงแถมไปให้ สำหรับรุ่นต่างๆเช่นกัน

 

มีดูวิธีการเปลี่ยนแบตสำหรับ MacBook Air กันก่อนครับ  อันนี้ง่ายนิดเดียวครับ

1. ไขน๊อตที่ฝาหลังออกทั้งหมดก่อน

2. เปิดฝาหลังออกมาจะเป็นแบตเตอรี่และขั้วแบตที่ต่อเข้ากับเมนบอร์ด ให้ดึงขั้วแบตออกก่อนลำดับแรกเลยนะครับ อย่าพลาดขั้นต้อนนี้

3. ไขน๊อตที่ยึดตัวแบตออกทั้งหมด จำตำแหน่งน๊อตแต่ละจุดไว้ด้วยนะครับ เพราะสั้นยาว ไม่เท่ากัน

4. จากนั้นดึงแบตเตอรี่ MacBook Air ออกขึ้นด้านบนตรงๆ เลยครับ  เพียงเท่านั้นก็สามารถใส่แบตเตอรี่ก้อนใหม่เข้าไปตามตำแหน่งเดิม แล้วใส่น๊อตกลับให้ตรงจุดเดิมเช่นกันครับ

5. ปิดฝาหลังแล้วใส่น๊อตกลับไปจุดเดิมทั้งหมด น๊อตแต่ละตำแหน่งสั้นยาวไม่เท่ากันนะครับผม จำตำแหน่งดีๆ ด้วยนะครับ

 

วิธีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ MacBook Pro 13, 15 กันบ้างครับ

1. ไขน๊อตที่ยึดฝาหลังออกให้หมดครับ จำตำแหน่งน๊อตสั้นและยาวไว้ด้วยนะครับผม

2. เปิดฝาหลังแล้วจะเจอแบตเตอรี่และขั้วแบต ให้ถอดขั้วแบตออกก่อนเลยนะครับ ดึงขึ้นตรงๆ มาเลยครับ

3. จากนั้นถอดน๊อตที่ยึดแบตออกทั้งหมด 3 ตัวครับ ไขควงแบบ 3 แฉก นะครับผม

4. ยกแบตก้อนเก่าออกแล้วใส่แบตก้อนใหม่เข้าไปได้เลย แล้วก็ประกอบทุกอย่างกลับตามเดิมครับ

 

****หลังจากที่เราเปลี่ยนแบตเตอร๊่ใหม่เข้าไปแล้ว ในการเปิดเครื่องครั้งแรก ให้เรารีเซท PRAM ด้วยการ กดปุ่ม Cmd+option+P+R ค้างไว้ตอนเปิดเครื่องครับ ให้รีสตาร์ทเองซักสองรอบนะครับผม****

จากนั้นก็ชาร์จแบตให้เต็ม 100% นานเกิน 8 ชม. ไปเลยนะครับ เพื่อเป็นการทำให้แบตเก็บไฟได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ครับ

ฟ้อนต์ไทยสำหรับเครื่อง Mac ที่ลงระบบปฏิบัติการ Mac OS X ใหม่ ต้องมี

เมื่อคุณซื้อเครื่องใหม่ หรือล้างเครื่องลงใหม่ทุกครั้ง ฟ้อนต์ไทยจะมีมาให้พร้อมเครื่องนั้นจะมีแค่ 3-4 ฟ้อนต์เท่านั้น เช่น Krungtep, Sukhumvit, Thonburi ดังนั้น หากเป็นผู้ที่จำเป็นต้องใช้งานด้านการทำเอกสารราชการ การทำกราฟฟิคต่างๆ การทำพรีเซนท์ จำเป็นต้องติดตั้งฟอนต์ไทยเพิ่มเติมให้กับระบบ  รวมทั้งฟ้อนต์ราชการไทย เช่น TH Saraban PSK ต้องใช้ในงานราชการ เราจึงต้องลงเพิ่มเข้าไปในเครื่องของเราด้วยนะครับ

ทีนี้เราจะมาแนะนำวิธีการติดตั้งฟ้อนต์ไทยเพิ่มเติม และการดาวน์โหลดฟ้อนต์ไทยมาลงในเครื่อง ว่าสามารถติดตั้งฟ้อนต์เพิ่มเติมได้อย่างไรบ้าง

1. Download ฟ้อนต์ไทยฟรีที่จำเป็นต้องมี (ฟ้อนต์ที่เครื่อง PC ทั่วไปมีมาในเครื่อง) คลิ๊กที่นี่

2. แตกไฟล์ Zip ออกเพื่อเตรียมพร้อมติดตั้งฟ้อนต์ไทยในเครื่อง Mac ของเรา

3. เปิดโปรแกรม Fontbook แล้วลากฟ้อนต์ไทยที่เราดาวน์โหลดมาใส่ในช่องด้านซ้ายมือ

 

เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถใช้งานฟ้อนต์ไทยฟรีเพิ่มเติมได้แล้วครับผม

#ฟ้อนต์ไทยฟรี #fontthaifree

คุณไม่สามารถใช้บัญชีผู้ดูแลระบบที่มีรหัสผ่านที่เว้นว่างอยู่ เพื่อปลดล็อคบานหน้าต่างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการตั้งค่าระบบได้

 

คุณไม่สามารถปลดล็อคบานหน้าต่างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ถ้าบัญชีผู้ดูแลระบบที่คุณใช้มีรหัสผ่านที่เว้นว่างอยู่ โปรดใช้ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับบัญชีผู้ดูแลระบบที่คุณต้องการจะใช้

  1. จากเมนู Apple ให้เลือก การตั้งค่าระบบ
  2. เลือก มุมมอง > ผู้ใช้และกลุ่ม
  3. เลือกผู้ใช้ที่เป็นผู้ดูแลระบบที่มีรหัสผ่านว่างอยู่ จากรายชื่อผู้ใช้ในบานหน้าต่างการตั้งค่า
  4. คลิกปุ่ม เปลี่ยนรหัสผ่าน

  5. เว้นว่างช่อง รหัสผ่านเดิม ไว้
  6. ป้อนรหัสผ่านในช่อง รหัสผ่านใหม่ และช่อง ยืนยัน
  7. ป้อนคำใบ้รหัสผ่าน
  8. คลิก เปลี่ยน

ตอนนี้คุณจะสามารถใช้บัญชีผู้ดูแลระบบเพื่อปลดล็อคบานหน้าต่างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวได้แล้ว

การกดปุ่มร่วมกันในการเริ่มต้นระบบสำหรับ Mac

คุณสมบัติบางอย่างของ Mac สามารถใช้ได้ โดยการกดบางปุ่มค้างไว้ขณะเริ่มต้นระบบ 

 

กดปุ่มค้างไว้ทันทีหลังจากที่คุณกดปุ่มเปิด/ปิดเพื่อเปิดเครื่อง Mac ของคุณ กดค้างไว้จนกว่าจะเกิดลักษณะการทำงานตามที่อธิบายไว้

กดค้างไว้ขณะเริ่มต้นระบบ คำอธิบาย
Shift (⇧) เริ่มต้นระบบใน เซฟโหมด 
Option (⌥) เริ่มต้นระบบที่ Startup Manager
C เริ่มต้นระบบจากแผ่น CD, DVD หรือธัมป์ไดรฟ์ USB ที่สามารถบูตได้ (เช่น สื่อติดตั้ง macOS)
D เริ่มต้นระบบที่ Apple Hardware Test หรือ Apple Diagnostics โดยขึ้นอยู่กับ Mac ที่คุณใช้
Option-D เริ่มต้นระบบที่ Apple Hardware Test หรือ Apple Diagnostics ผ่านอินเทอร์เน็ต
N เริ่มต้นระบบจากเซิร์ฟเวอร์ NetBoot ที่เข้ากันได้
Option-N เริ่มต้นระบบจากเซิร์ฟเวอร์ NetBoot โดยใช้อิมเมจบู๊ตเริ่มต้น
Command (⌘)-R เริ่มต้นระบบจากการกู้คืน macOS 
Option-Command-R เริ่มต้นระบบจากการกู้คืน macOS ผ่านอินเทอร์เน็ต
Option-Command-P-R รีเซ็ต NVRAM ปล่อยปุ่มหลังจากที่คุณได้ยินเสียงเริ่มต้นระบบอีกครั้ง
Command-S เริ่มต้นระบบในโหมดผู้ใช้คนเดียว
T เริ่มต้นระบบใน โหมดดิสก์เป้าหมาย
X เริ่มต้นระบบจากไดรฟ์เริ่มต้นระบบ macOS เมื่อ Mac อาจเริ่มต้นระบบจากไดรฟ์เริ่มต้นระบบที่ไม่ใช่ macOS
Command-V เริ่มต้นระบบใน โหมด Verbose
ดีดออก (⏏) F12 ปุ่มเมาส์ หรือปุ่มแทร็คแพด ดีดสื่อที่ถอดได้ออก เช่น ออปติคอลดิสก์

การกดปุ่มร่วมกันเหล่านี้จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ Mac ที่ใช้ Intel 

 

 

ค้นหา

บทความที่เกี่ยวข้อง

Free Joomla templates by L.THEME